ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คำร้องดังกล่าวที่อัยการสำนักงานต่างประเทศได้ยื่นขอให้ศาลวินิจฉัยการส่งตัวเป็นผู้ร้ายจ้ามเเดนระบุว่า ประเทศบาห์เรนและประเทศไทย ไม่มีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างกัน โดยพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2551 กำหนดให้รัฐบาลต่างประเทศสามารถร้องขอต่อรัฐบาลไทยให้ส่งตัวบุคคลที่กระทำผิดตามกฎหมายของประเทศที่ร้องขอ แม้ว่าประเทศนั้นไม่ได้มีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับประเทศไทย โดยให้รัฐบาลประเทศผู้ร้องขอนั้นทำคำรับรอง ที่จะปฏิบัติต่างตอบแทนกับรัฐบาลไทย โดยคดีนี้รัฐบาลบาห์เรนได้ให้คำรับรองดังกล่าวแล้ว ขณะที่การกระทำความผิดซึ่งมีการร้องขอให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดนนั้นจะต้องเป็นการกระทำความผิดตามกฎหมายไทย และความผิดดังกล่าวจะต้องเป็นความผิดกำหนดโทษจำคุกไม่น้อยกว่า 1 ปีและไม่เป็นความผิดที่มีลักษณะทางการเมือง หรือเป็นความผิดทางทหาร
คดีนี้รัฐบาลบาห์เรน ได้มีหนังสือลงวันที่ 3 ธ.ค. 2561 และเอกสารและเอกสารประกอบคำร้องขอ พร้อมคำแปลภาษาไทยส่งผ่านวิถีทางการทูต ขอให้รัฐบาลไทยจับกุมและคุ้มขังชั่วคราวนายฮาคีม สัญชาติบาห์เรนซึ่งถือหนังสือเดินทางบาห์เรน เพื่อดำเนินการส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดน ไปรับโทษตามคำพิพากษาที่ประเทศบาห์เรน ในความผิดฐาน
2. ชุมนุมโดยมิชอบด้วยกฎหมายมากกว่า 5 คนในที่สาธารณะ และใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อวัตถุประสงค์ในการก่ออาชญากรรมและก่อกวนความสงบเรียบร้อยของประชาชน
3.ครอบครองวัตถุไวไฟ ซึ่งเป็นระเบิดขวด เพื่อวัตถุประสงค์ในการก่ออันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
4.ทำให้รถยนต์ส่วนบุคคลของผู้อื่นเสียหายตามประมวลกฎหมายอาญาบาห์เรน มาตรา 178 , 179 , 277/1 , 277/2 , 277 ทวิ , 409/1 , 414/1 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกเกิน 1 ปีขึ้นไป และคดียังไม่ขาดอายุความ โดยนายฮาคีมนั้นเป็นจำเลยที่ 4 ในคดีอาญาดังกล่าวซึ่งศาลได้พิจารณาลับหลังและพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 4 ให้จำคุกเป็นเวลา 10 ปี แต่นายฮาคีมหลบหนี สำนักงานอัยการบาห์เรน จึงได้ออกหมายจับเมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2554