เลือกตั้ง / เมื่อเวลา 16.30 น. วันที่ 23 ม.ค. ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานกกต. แถลงว่า วันนี้ (23 ม.ค.) พ.ร.ฎ.ให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไป 2562 ประกาศในราชกิจจานุกเบกษาแล้ว
โดยมีกำหนดเวลาดำเนินการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1.ในช่วงเวลาวันที่ 28 ม.ค.-19 ก.พ. จะเป็นวันลงทะเบียนของใช้สิทธิลงคะแนนก่อนวันเลือกตั้ง นอกเขตเลือกตั้งและนอกราชอาณาจักร ผู้มีสิทธิยื่นลงทะเบียนได้ตามช่องทางที่กำหนด
2.วันรับสมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ช่วงที่กำหนดไว้วันที่ 4-8 ก.พ. ซึ่งเป็นช่วงที่พรรคต้องยื่นส.ส.บัญชีรายชื่อ และแจ้งรายชื่อบุคคลที่พรรคมีมติว่าจะเสนอให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบเป็นนายกฯ สำหรับสถานที่ส่งบัญชีรายชื่อบัญชีรายชื่อ-นายกฯ
กกต.ได้กำหนดให้พรรคยื่นได้ที่สำนักงานกกต. อาคารศูนย์ราชการ ชั้น 2 ห้อง 201-202-203 ส่วนสถานที่ในการรับสมัครเลือกตั้งแบบแบ่งเขต
ผอ.กกต.ประจำเขตจะประกาศให้ทราบภายใน 3 วันนับแต่กกต.ประกาศในราชกิจจาฯ ซึ่งจะประกาศในวันที่ 24 ม.ค. และวันที่ 4-16 มี.ค.เป็นวันออกเสียงนอกราชอาณาจักร วันที่ 17 มี.ค. วันออกเสียงนอกเขตเลือกตั้ง ที่สถานที่เลือกตั้งกลาง และวันที่ 24 มี.ค.เป็นวันเลือกตั้งส.ส.ทั่วไป
เมื่อถามว่ารับรองผลก่อนจะดำเนินการได้ก่อนวันที่ 9 พ.ค.หรือไม่ นายอิทธิพร กล่าวว่า ตอนนี้เราขอกำหนดวันและเวลาที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง ส่วนระยะเวลารับรองผลเลือกตั้ง เราคำนึงถึงปัจจัยต่างๆอยู่แล้ว ตอนนี้ทำอย่างไรให้การเลือกตั้งวันที่ 24 มี.ค.เป็นไปโดยเรียบร้อยมากที่สุด และคำนึงถึงระยะเวลาประกาศผลด้วย
เมื่อถามว่ามีทางเลือกอื่นนอกจากวันที่ 24 มี.ค. หรือไม่ ประธานกกต. กล่าวว่า เราเรียนมาตลอดว่า กกต.พร้อมจัดการเลือกตั้งเมื่อประกาศ พ.ร.ฎ.แล้ว กกกต.จะพิจารณาวันที่เหมาะสมประกอบปัจจัยต่างๆแล้วตัดสินใจ
เมื่อถามทำไมวันที่ 24 มี.ค.ถึงเหมาะสม ประธานกกต. กล่าวว่า เหมาะสมเพราะเป็นช่วงที่สามารถปฏิบัติได้ ตามที่กกต.กำหนดไว้ว่าถ้าประกาศเลือกตั้งแล้วสิ่งที่เราต้องทำต่อไป การใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร การใช้สิทธิล่วงหน้า การสมัคร การหาเสียง ต้องพิจารณาปัจจัยทั้งหมด ส่วนใหญ่เราจะเลือกวันนั้น
เมื่อถามว่ามติเป็นไปโดยเอกฉันท์ ประธานกกต. กล่าวว่า มติเสียงข้างมากและไม่ใช่เสียงข้างน้อยเสนอวันที่ 24 มี.ค. แต่พิจารณาว่าวันไหนเหมาะสมที่สุด ซึ่งมีไม่กี่วันเพราะเลือกวันอาทิตย์ ถ้าวันที่ 10 มี.ค. จะกระชั้นไป ระยะเวลาหาเสียงแนวทางเดิม 52 วัน กำหนดวันใดเพิ่มขึ้นน้อยลงเป็นประโยชน์หรือไม่ เป็นปัจจัยที่พิจารณา
เมื่อถามว่านักวิชาการยึดหลักประกาศ 9 พ.ค. เหลือ 45 วันอาจบล็อกคนเลือกนายกฯ นายอิทธิพร กล่าวว่า ไม่อยากใช้คำว่าบล็อก สิ่งที่กกต.พิจารณากำหนดวันเลือกตั้งพิจารณาได้อย่างเรียบร้อย ไม่กระทบต่อพระราชพิธี ความพร้อมของพรรค นักการเมืองและกกต. และความสามาารถประกาศผลเลือกตั้ง ไม่เกี่ยวกับเรื่องบล็อกหรือไม่
เราพิจารณาตามปัจจัยในวันนี้ ส่วนกรอบระยะเวลา 150 วันนั้น เคยตอบไปแล้วว่า กกต.คุยกันแล้ว เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้อง หากจำเป็นกกต.คงคุยกันและมีแนวทางชัดเจน ขณะนี้เราเน้นเตรียมการเลือกตั้งให้ชัดเเจน แม้กฎหทายกำหนด 60 วันเราจะทำได้เร็ว
ซึ่งกฎหมายระบุภายใน 60 วัน ถ้าเราทำได้เรียบร้อยก็ประกาศผลก่อนวันนั้นได้
นายอิทธิพร กล่าวว่า การกำหนดวันเลือกตั้งเป็นวันที่ 24 มี.ค. ทำให้พรรคต่างๆมีความปลอดภัยในการดำเนินการเรื่องสาขาพรรค ผู้แทนพรรคประจำจังหวัดได้มากขึ้นกว่าวันอื่น อยากให้พรรคใช้เวลาที่มีอยู่ดำเนินการจัดตั้งสาขาพรรคและตัวแทนพรรค ถ้าไม่ตั้งก็ส่งผู้สมัครส.ส.ไม่ได้
ขอบคุณข้อมูลจาก www.khaosod.co.th