วันนี้ในอดีต 6 ก.พ.48 ทักษิณ พาไทยรักไทย ชนะเลือกตั้งถล่มทลาย แต่อยู่ได้เพียงปีเดียวต้องยุบสภา

วันนี้ในอดีต 6 ก.พ.48 ทักษิณ พาไทยรักไทย ชนะเลือกตั้งถล่มทลาย แต่อยู่ได้เพียงปีเดียวต้องยุบสภา
วันนี้ในอดีต 6 ก.พ.48 ทักษิณ พาไทยรักไทย ชนะเลือกตั้งถล่มทลาย แต่อยู่ได้เพียงปีเดียวต้องยุบสภา

วันนี้ในอดีต 6 ก.พ.48 ทักษิณ พาไทยรักไทย ชนะเลือกตั้งถล่มทลาย แต่อยู่ได้เพียงปีเดียวต้องยุบสภา

 

วันที่ 6 ก.พ. พ.ศ.2548 พรรคไทยรักไทย ที่มี ทักษิณ ชินวัตร เป็นหัวหน้าพรรค สามารถเอาชนะเลือกตั้งได้ในการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 21 เป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 2 ของการใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ทำให้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปแบบและเขตเลือกตั้งเหมือนกับการเลือกตั้งทั่วไปครั้งก่อน

สำหรับการเลือกตั้งในครั้งนั้นมี ทักษิณ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พรรคการเมืองที่เป็นคู่แข่งสำคัญในการเลือกตั้งครั้งนี้ได้แก่พรรคไทยรักไทยที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิมเพราะมีพรรคอื่นยุบมารวม และเป็นพรรครัฐบาล กับพรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นพรรคฝ่ายค้านสำคัญ และมีนายบัญญัติ บรรทัดฐาน เป็นหัวหน้าพรรค

สำหรับผลการเลือกตั้งปรากฎว่า พรรคไทยรักไทย ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรวมกัน 377 คน ,พรรคประชาธิปัตย์ ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรวมกัน 96 คน ,พรรคชาติไทย ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรวมกัน 25 คน และพรรคมหาชน ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเฉพาะเขตเล็ก 2 คน

โดยผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งมีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย เป็น 44,572,101 คน และมีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งจริง 32,341,330 คน คิดเป็นอัตราร้อยละ 72.56 นับว่ามากกว่าการเลือกตั้งเมื่อ 4 ปีก่อน

 

และเมื่อเปิดการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พรรคไทยรักไทย ก็สามารถตั้งรัฐบาลได้เพียงพรรคเดียว ในวันที่ 9 มี.ค. พ.ศ.2548 พร้อมแต่งตั้ง ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีอีกหนึ่งสมัย ซึ่งการที่พรรคไทยรักไทยได้เสียงในสภาผู้แทนราษฎรเกินกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด

ทำให้รัฐบาลสามารถบริหารงานโดยพรรคฝ่ายค้านแทบตรวจสอบอะไรนายกรัฐมนตรีไม่ได้ เพราะจำนวนสมาชิกพรรคฝ่ายค้าน 123 คนนั้น มีไม่พอที่จะยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี

อย่างไรก็ดีแม้จะได้เสียงข้างมากในรัฐสภา แต่หนึ่งปีต่อมา ทักษิณ และพรรคไทยรักไทย ต้องพบกับกระแสต่อต้าน คัดค้านจากทั้งใน และนอกสภา ที่มีม็อบออกมาขับไล่รัฐบาล ทำให้ต้อง ทักษิณ ตัดสินใจยุบสภาในวันที่ 24 ก.พ. พ.ศ. 2549 เพื่อจัดการเลือกตั้งใหม่ ในวันที่ 2 เม.ย. พ.ศ.2549

แต่ทว่าพรรคฝ่ายค้านเดิม 3 พรรค (ประชาธิปัตย์ ,ชาติไทย และมหาชน) ร่วมกันประท้วงโดยไม่ยอมลงแข่งขันด้วย ก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยว่าการเลือกตั้ครั้งดังกล่าวไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

2019-02-06 17:09:35
1145

มวยดังในอดีต

มวยดังในอดีต ตำนานมวยไทย อดีตนักมวยชื่อดัง ตามหานักมวยชื่อดังในอดีต | ดีเด็ดมวยไทย

กีฬารอบโลก

กีฬารอบโลก นานากีฬา ข่าวเด็ดๆ คัดเน้นๆ เพื่อให้แฟน ทีเด็ดมวยไทย ได้ดูเน้นๆ กีฬาดังๆ ฮ็อตฮิตทั่วโลก

ดาวรุ่งภูธร

ดาวรุ่งภูธร มวยดาวรุ่ง มวยหน้าใหม่จากภูธร มวยบ้านนอก ดาวรุ่งดวงใหม่แห่งวงการมวยไทย | ทีเด็ดมวยไทย

ขวัญใจแฟนมวย

ขวัญใจแฟนมวย นักมวยขวัญใจแฟนมวย นักมวยหน้าหยก พระเอกมวยไทย | ทีเด็ดมวยไทย